วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการใช้โทรศัพท์มือถือแบบพอเพียง

  วิธีการใช้โทรศัพท์มือถือแบบพอเพียง 

 นิตยสาร First Mobile ให้คำแนะนำเรื่องการบริโภคโทรศัพท์มือถือแบบพอเพียงไว้ได้อย่างน่าสนใจจึงขอนำมาถ่ายทอดแด่คุณผู้อ่าน เพื่อการดำรงชีวิตแบบพอเพียงภายใต้ฤดูแห่งการจับจ่ายใช้สอยเช่น นี้
      
       นักจิตวิทยาเคยกล่าวไว้ว่า การติดโทรศัพท์ของมนุษย์นั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเกลียดกลัวความเหงา และโหยหาการมีคนอยู่ข้างๆ เสมอ และการหยิบโทรศัพท์มือถือออกมาเพื่อโทรหาคนที่เรารู้สึกว่า อยากให้เขาอยู่ข้างๆ ก็เป็นหนึ่งในวิธีมากมาย
      
       ผู้คนในยุคนี้จึงเคยชินกับการคุยโทรศัพท์เมื่อรู้สึกว่าตัวเองอยู่คน เดียว แม้จะรู้ว่าเป็นความสุขชั่วคราว แต่หลายคนก็ยอมที่จะซื้อเวลาความสุขนั้น ซึ่งคงไม่เหมาะสำหรับยุคน้ำมันแพงที่การจ่ายสิ่งที่เกินความพอดีสมควรจะตัด ไป และถ้าใครอยากร่วมอุดมการณ์แล้วล่ะก็ เรามาหาแนวทางควบคุมค่าโทรให้พอดีๆ กัน
      
       1.ลดนิสัยการเป็นคนช่างเล่า
      
       การมีนิสัยเป็นคนช่างเล่านั่นแหละที่เป็นเหตุแห่งการคุยยาว โดยเฉพาะคนที่ชอบเล่าระหว่างเดินทางหรือขับรถ
      
       คำแนะนำ
      
       - ฝึกการปลดปล่อยเรื่องราวผ่านการเล่าด้วยวิธีการอื่น เช่น การจดบันทึกเรื่องราวประทับใจหรือความเป็นไปในชีวิตผ่านไดอะรี่ เพราะเมื่อใดที่เรื่องราวอั้ดอั้นชวนเล่าถูกบอกกล่าวผ่านหน้ากระดาษไปแล้ว 1 ครั้ง ดีกรีความอยาก (เล่า) จะลดลง ทำให้คุณรวบรัดตัดความการเล่าครั้งต่อๆ ไปได้สั้นลง
      
       - ฝึกฆ่าเวลาด้วยวิธีอื่น เช่น หากขับรถก็จงเพลิดเพลินกับเพลงไพเราะหรือดีเจเสียงใสแทนการเม้าท์ และถ้านั่งรถเมล์ก็ลองฝึกปล่อยอารมณ์ไปตามบรรยากาศ อ่านหนังสือ หรือไม่ก็หลับเป็นดีที่สุด
      
       2.หาร้อยแปดพันเก้าเหตุผลโน้มน้าวใจ
      
       เป็นธรรมดาว่าเหตุผลมักทำให้คนเปลี่ยนใจ เช่นเดียวกันกับการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือนั้นก็ต้องมีเหตุผล จึงจะสามารถเปลี่ยนตนเองได้
      
       คำแนะนำ
      
       - ถึงแม้จะมีไม่มีผลการพิสูจน์ยืนยันชัดเจนว่า การใช้งานโทรศัพท์มือถือทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหรือไม่ แต่ปลอดภัยไว้ก่อนเป็นดีที่สุด เพราะยังไม่มีผลการศึกษาว่าถ้าใช้งานมือถือติดต่อกันมากกว่า 10 ปี ร่างกายจะได้รับกระทบอะไรบ้าง ฉะนั้นเหตุผลแบบนี้อาจทำให้เราอยากใช้มือถือน้อยลงก็ได้
      
       - นึกถึงผลเสียด้านความงามเข้าไว้ เพราะไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า การใช้โทรศัพท์มือถือนานๆ ทำให้เป็น “สิว” ไม่ใช่ด้วยรังสีหรือความร้อนส่วนใดๆ แต่เป็นที่ตัวเครื่อง โดยเฉพาะคนที่นิยมแนบโทรศัพท์ไว้ข้างแก้ม และเมื่อความสกปรกจากตัวเครื่องสัมผัสกับผิวอันบอบบางความงามจึงลดลง รู้แบบนี้แล้วก็อย่าโทรนาน
      
       3.เปลี่ยนแปลงค่านิยมการใช้โทรศัพท์
      
       ค่านิยมบางอย่างมีผลทำให้บางคนใช้งานโทรศัพท์มือถือมากจนเกินพอดี ซึ่งถ้าลดได้ผลดีก็จะตกแก่เรา
      
       คำแนะนำ
      
       - ถ้าคุณไม่ได้เกิดบนกองเงินกองทองก็ไม่จำเป็นจะต้องตะบันใช้งานโทรศัพท์มือ ถือ เพื่อให้ได้อยู่ในกลุ่มลูกค้าที่คุณต้องการ เพื่อรับสิทธิพิเศษต่างๆ ก็ได้ บางทีค่าโทรศัพท์ส่วนเกิน (พอดี) ของคุณสามารถซื้อของหลอกล่อเหล่านั้นได้ด้วยซ้ำไป
      
       - เลิกคิดว่าการใช้โทรศัพท์แบบเติมเงินเป็นเรื่องของเด็กๆ เพราะแท้จริงการใช้โทรศัพท์แบบเติมเงินสามารถบังคับตัวเองได้ดีเลยล่ะ ด้วยการกำหนดจำนวนเงินที่จะเติมไว้อย่างแน่นอน ถ้าหมดก็ไม่ต้องเติม รับสายอย่างเดียว
      
       4. คำนึงถึงความคุ้มค่าของสิ่งรอบตัว
      
       บางคนใช้โทรศัพท์มือถือโทรแบบไม่คุ้มค่านัก ฉะนั้นแล้วลองมองหาความคุ้มค่าอื่นๆ รอบตัวก่อนดีไหม
      
       คำแนะนำ
      
       - ระลึกเสมอว่า อยู่บ้านใช้โทรศัพท์บ้าน ติดต่องานใช้โทรศัพท์ที่ทำงาน และถ้าอยู่นอกบ้านจะใช้บริการโทรศัพท์สาธารณะบ้างก็ไม่ต้องกลัวใครจะหาว่า เชย ยิ่งโทรศัพท์พื้นฐานมีโปรโมชั่นโทรถูกด้วยแล้ว ยิ่งสบายกระเป๋าเราไปใหญ่
      
       - ถ้าคุณแค่อยากบอกใครว่า “รักนะ…เด็กโง่” ก็ไม่จำเป็นต้องโทรกระหน่ำ แค่ “SMS” สั้นๆ สักข้อความ เขาคนนั้นก็ยิ้มแก้มปริแล้วล่ะ ลองสมัครแพ็คเกจ SMS ไว้ใช้ในกรณีพิเศษแบบนี้ได้ เพราะอัตราการส่งต่อข้อความจะถูกเป็นพิเศษ
      
       เปลี่ยนแปลงตัวเองง่ายๆ แบบนี้ยากเกินไปไหม ว่าแล้วก็ส่องกระจก มองหน้าตัวเอง แล้วพูดว่า “เราต้องทำให้ได้” ใช่แล้ว… “เราต้องเลิกเสพติดมือถือให้ด้าย..ยย.ย”

ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ

4 วิธีป้องกันรังสีจาก โทรศัพท์มือถือ

4 วิธีป้องกันรังสีจาก โทรศัพท์มือถือ


เมื่อเร็วๆนี้เอง องค์การอนามัยโลก ได้ยอมรับว่า การแผ่รังสีของโทรศัพท์มือถือนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยง เกิดมะเร็งในสมอง ซึ่งขัดกับแถลงการณ์ครั้งก่อนที่ว่า ยังไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับการแผ่รังสีจากโทรศัพท์มีผลกระทบต่อความเสี่ยงการ เกิดโรคมะเร็งในสมองแต่อย่างได แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีการถกเถียงกันในหัวข้อนี้จากในวงการผู้เชี่ยวชาญ ถึงผลกระทบดังกล่าว
ฝรั่งว่าไว้ “Better safe than sorry” หรือ กันไว้ดีกว่าแก้ คงจะเป็นการดีถ้าเราหันมาป้องกันแต่เนิ่นๆ ดีกว่ารอข้อสรุปที่ชัดเจน ซึ่งใช้เวลาในการวิจัยที่ข้อนข้างนาน  และเมื่อถึงเวลานั้น มันอาจจะสายไปแล้วก็เป็นได้
นี่คือ 4 วิธีง่ายๆ ในการป้องกันรังสีจากโทรศัพท์มือถือที่เราใช้อยู่ทุกวัน
1.ใช้ ชุดหูฟัง หรือ Small Talkยก เว้น อุปกรณ์ Bluetooth ในการสนทนาทุกครั้ง จำไว้ว่ายิ่งโทรศัพท์อยู่ห่างจาก ศีรษะเราเท่าไรยิ่งดี เราควรพกติดตัวโดยเก็บไว้ในกระเป๋าสะพาย หรือ กระเป๋าเสื้อก็ได้
2.ใช้ชุดหูฟังแบบย้อนยุค มีผลิตภัณฑ์เชื่อมต่อลักษณะเดียวกันกับหูโทรศัพท์ Landline ทั่วไป จะช่วยป้องกันรังสีได้มาก แต่คุณคงตกเป็นเป้าสายตาเมื่อคุณเดินอยู่ในที่สารธารณะแล้วควักเจ้าสิ่งนี้ ออกมาคุย แต่สำหรับใครที่ต้องนั่งรับโทรศัพท์ทั้งวัน จะลองซักหน่อยคงไม่เสียหาย
3.เปิดโหมดลำโพง หรือ Speakerphone ถ้าคุณไม่มีสองสิ่งที่กล่าวมาแล้ว การใช้ โหมดลำโพงนั้นถือว่าสะดวกที่สุด แต่อย่าลืมเคารพความเป็นส่วนตัวของคนรอบข้างด้วยล่ะ
4.และท้ายที่สุด เมื่อคุณไม่มีทั้งอุปกรณ์เสริม หรือคุณไม่ได้อยู่คนเดียวตามลำพัง แค่ถือโทรศัพท์ให้ห่างจากหูไว้อย่างน้อยหนึ่งนิ้ว ก็จะช่วยลดการแผ่รังสีจากโทรศัพท์สู่สมองของเราได้แล้ว

วิธีใช้โทรศัพท์ อย่างปลอดภัย ขณะขับรถ

วิธีใช้โทรศัพท์ อย่างปลอดภัย ขณะขับรถ

1. การใช้อุปกรณ์เสริม Bluetooth Headset
        เป็นวิธีการที่ง่ายและถูกที่สุด อุปกรณ์บลูทูธใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ราคาไม่แพง และสามารถวางโทรศัพท์มือถือไว้ที่ใดก็ได้ขณะคุย แต่มีข้อจำกัด คือ คุณภาพของสัญญาณโทรศัพท์ที่ยังไม่ค่อยดีเท่าที่ควรเพราะหากขับรถด้วยความ เร็วสูง จนเกิดเสียงดังมากขึ้นจากลมและเครื่องยนต์ จะทำให้กลบเสียงโทรศัพท์ขณะพูดคุยได้
        นอกจากนี้ การใช้บลูทุธยังมีข้อจำกัดอื่นๆ อีก ดังนี้
        • หากหนีบหูเป็นเวลานานจะสร้างความรำคาญ 
        • บลูทูธโดยทั่วไปจะมีหูฟังเพียงข้างเดียว เมื่อใช้งานไปช่วงหนึ่ง ขาหนีบ อาจแตกหักง่าย 
        • ระบบนี้ไม่มีที่สำหรับวางมือถือที่ติดแน่นกับรถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ อาจเสี่ยงต่อความเสียหายอย่างรุนแรง
        • รถยนต์ถือเป็นฉนวนของการรับสัญญาณคลื่น ทำให้อุปกรณ์ต้องส่งคลื่นโทรศัพท์ที่กำลังสูงกว่าปกติ โดยในปัจจุปันยังไม่มีการยืนยันผลข้างเคียงต่อสุขภาพ นอกจากนี้ บุคคลที่ใช้เครื่องช่วยการเต้นของหัวใจ (Heart Pacemaker) ควรเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ที่มีกำลังสูง เพราะ มีโอกาสที่จะเกิดการกวนระบบ รวมทั้งการกวนระบบอาจเกิดขึ้นกับนรยนต์ได้เช่นกัน หากรถยนต์ของคุณไม่มีเสาอากาศสำหรับรับสัญญาณด้านนอก
        • แบตเตอรี่เสริมสภาพเร็ว เพราะต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติ

2. การติดตั้ง Handfree Speaking System
         วิธีการนี้เหมาะสำหรับคนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่หลังพวงมาลัย สามารถแบ่งอุปกรณ์เสริมเป็น 2 ประเภท คือ         ประเภทแรก คือ ชุดอุปกรณ์ที่สามารถติดตั้งได้เองบริเวณส่วนกลางของคอนโซลหน้ารถยนต์ โดยใช้ที่จุดบุหรี่เป็นตัวชาร์จแบตเตอรี่

ข้อดี       • ติดตั้งและถอดง่าย

             • ไม่ต้องกังวลว่าแบตตอรี่โทรศัพท์มือถือจะหมดระหว่างใช้งาน

ข้อเสีย    • แบตเตอรี่จะถูกชาร์จตลอดเวลา อาจทำให้เสื่อมสภาพเร็ว

             • บางครั้งอาจเกิดการหลวมคลอนของอุปกรณ์ที่เสียบไว้ ทำให้สามารถรับสัญญาณไม่ชัดเจน
             • หากรถยนต์ไม่มีเสาอากาศรับสัญญาณด้านนอก อาจทำให้รับสัญญาณได้ไม่ดี
        ประเภทที่สอง คือ อุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของรถยนต์โดยตรง การติดตั้งจึงต้องรื้อคอนโซลออกและติดตั้งเข้าโดยตรงกับระบบไฟและระบบ อิเล็กทรอนิกส์

ข้อดี       • จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า "กล่องดำ" ทำหน้าที่เป็นไมโครโฟนและลำโพง 

             • หากมีโทรศัพท์เข้า เครื่องจะตัดสัญญาณจากวิทยุเป็นสัญญาณโทรศัพท์โดยทันที

ข้อเสีย    • ต้องรื้อแผงคอนโซลเพื่อติดตั้ง

ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ

ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ
แคนาดา
จีน
ฟินแลนด์
ฝรั่งเศส
อินเดีย
อิสราเอล
อิตาลี
ญี่ปุ่น
มาเลเซีย
เนเธอร์แลนด์
รัสเซีย
เกาหลีใต้
สวีเดน
สวิสเซอร์แลนด์
ไต้หวัน
เยอรมนี
ไทย
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
เวเนซูเอลา

วิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือ

 วิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือ
ในสมัยโบราณ การติดต่อสื่อสารทางไกลระหว่างมนุษย์ด้วยกันนั้น จะใช้วิธีการง่าย ๆ อาศัยธรรมชาติหรือเลียนแบบธรรมชาติเป็นหลัก เช่น การใช้ควัน เสียง แสง หรือใช้นกพิราบ เป็นต้น การสื่อสารที่ใช้ชื่อดังกล่าวนั้นจะไม่ค่อยได้ผลเท่าใดนัก เนื่องจากไม่สามารถให้รายละเอียดข่าวสารได้มาก หรือแม้จะให้รายละเอียดได้มากแต่ก็ไม่ค่อยจะปลอดภัยเท่าใด เช่น นกพิราบนำสารซึ่งให้รายละเอียดได้มาก แต่เป็นการเสี่ยงเพราะนกพิราบอาจไปไม่ถึงปลายทางได้ อย่างไรก็ตาม
การสื่อสารดังกล่าวนี้ เป็นการสื่อสารที่ราคาถูกความรวดเร็วก็พอใช้ได้ในปัจจุบัน
ซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นยุคแห่งความเจริญทางด้านเทคโนโลยี มนุษย์ได้นำเอาเทคโนโลยี
ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้กับการสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงมาก ทั้งความสะดวกสบาย รวดเร็วและถูกต้อง ชัดเจน แน่นอน

ระบบสื่อสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายชนิด เช่น วิทยุสื่อสาร (Radio Communication) โทรเลข (Telegraphy) โทรพิมพ์ (Telex) โทรศัพท์ (Telephone) โทรสาร (Facsimile) หรือวิทยุตามตัว (Pager) เป็นต้น แต่ระบบสื่อสารที่ได้รับความนิยมทั่วโลกก็คือ โทรศัพท์ เพราะโทรศัพท์สามารถโต้ตอบกันได้ทันที รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งระบบ อื่น ๆ ทำไม่ได้ โทรศัพท์จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและในโลกของการสื่อสารปัจจุบัน โทรศัพท์ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ต่าง ๆ ด้วยมีคำกล่าวหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศอยู่ว่า ประเทศใด ที่มีจำนวนเลขหมายโทรศัพท์ในประเทศ 40 หมายเลขต่อประชากร 100 คน ถือว่าประเทศนั้นมีความเจริญแล้ว หรือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศใดที่มีหมายเลขโทรศัพท์ 10 เลขหมายขึ้นไปต่อประชากร 100 คน ถือว่าประเทศนั้นกำลังได้รับการพัฒนา
จะเห็นว่าประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญกับกิจการโทรศัพท์เป็นอย่างมากในประเทศไทย คำว่า โทรศัพท์ได้เริ่มรู้จักกันตั้งแต่รัชการที่ 5 ซึ่งโทรศัพท์ตรงกับภาษากรีกคำว่า Telephone โดยที่ Tele แปลว่า ทางไกล และ Phone แปลว่า การสนทนา เมื่อแปลรวมกันแล้วก็หมายถึงการสนทนากันในระยะทางไกล ๆ หรือการส่งเสียงจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้ตามต้องการ

วิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือในไทย

"ตำนานไปรษณีย์โทรเลขสยาม" พ.ศ.2429 ถึง พ.ศ.2468 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับโทรศัพท์ในประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยได้นำเอาโทรศัพท์มาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2424 ตรงกับรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกรมกลาโหม (กระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน) ได้สั่งเข้ามาใช้งานในกิจการเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยติดตั้งที่กรมอู่ทหารเรือกรุงเทพฯ 1 เครื่อง และป้อมยามปากน้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการอีก 1 เครื่อง รวม 2 เครื่อง เพื่อจะได้แจ้งข่าวเรือเข้าออกในแม่น้ำเจ้าพระยาให้ทางกรุงเทพฯทราบ
         พ.ศ.2429 กิจการโทรศัพท์ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น จำนวนเลขหมายและบุคลากรก็เพิ่มมากขึ้นยุ่งยากแก่การบริหารงานของกรมกลาโหม ดังนั้น กรมกลาโหมจึงได้โอนกิจการของโทรศัพท์ให้ไปอยู่ในการดูแลและดำเนินการของกรม ไปรษณีย์โทรเลข ต่อมากรมไปรษณีย์โทรเลขก็ได้ขยายกิจการโทรศัพท์จากภาครัฐสู่เอกชน โดยให้ประชาชน มีโอกาสใช้โทรศัพท์ได้ ในระยะนี้เครื่องที่ใช้จะเป็น ระบบแม็กนีโต(Magneto)หรือระบบ โลคอลแบตเตอรี่ (Local Battery )
         พ.ศ.2450 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้สั่งโทรศัพท์ ระบบคอมมอนแบตเตอรี่ (Common Battery) หรือ เซ็นทรัล แบตเตอรี่(Central Battery) มาใช้ซึ่งสะดวกและประหยัดกว่าระบบแม็กนีโตมาก
         พ.ศ.2479 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้สั่งซื้อชุมสายระบบสเต็บบายสเต็บ(Step by Step) ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติสามารถหมุนเลขหมายถึงกันโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพนักงานต่อสาย(Operator) เหมือน โลคอลแบตเตอรี่ หรือ เซ็นทรัล แบตเตอรี่
         พ.ศ.2497 เนื่องจากกิจการโทรศัพท์ได้เจริญก้าวหน้ามาก ประชาชนนิยมใช้ แพร่หลายไปทั่วประเทศ กิจการใหญ่โตขึ้นมากทำให้การบริหารงานลำบากมากขึ้น เพราะกรมไปรษณีย์โทรเลขต้องดูแลเรื่องอื่นอีกมาก ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2497 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยขึ้น โดยแยกกองช่างโทรศัพท์กรมไปรษณีย์โทรเลขมาตั้งเป็นองค์การโทรศัพท์แห่ง ประเทศไทยขึ้น มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคมมาจนถึงปัจจุบัน องค์การโทรศัพท์หลังจากที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นแล้ว ก็ได้รับโอนงานกิจการโทรศัพท์มาดูแล
         พ.ศ.2517 องค์การโทรศัพท์ก็สั่งซื้อชุมสายโทรศัพท์ระบบคอสบาร์(Cross Bar) มาใช้งานระบบคอสบาร์เป็นระบบอัตโนมัติเหมือนระบบสเต็บบายสเต็บแต่ทันสมัย กว่าทำงานได้เร็วกว่า มีวงจรพูดได้มากกว่า และขนาดเล็กกว่า
         พ.ศ.2526 องค์การโทรศัพท์ได้นำระบบชุมสาย SPC (Storage Program Control) มาใช้งาน ระบบ SPC เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer) ทำงานได้รวดเร็วมาก ขนาดเล็ก กินไฟน้อย และยังให้บริการเสริมด้าน อื่น ๆ ได้อีกด้วย

         ในปัจจุบันชุมสายโทรศัพท์ที่ติดตั้งใหม่ ๆ จะเป็นระบบ SPC ทั้งหมด ระบบอื่น ๆ เลิกผลิตแล้ว ประเทศไทยเรากำลังเร่งติดตั้งโทรศัพท์เพื่อให้พอใช้กับประชาชน ดังจะเห็นจากโครงการ 3 ล้านเลขหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 และโครงการอื่น ๆ ต่อไป รวมทั้งวิทยุโทรศัพท์อีกด้วย เพื่อเสริมให้ระบบสื่อสารในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

 

ประวัติทั่วๆไปของโทรศัพท์

โทรศัพท์ได้ถูกคิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2419 โดยนักประดิษฐ์ ชื่อ ALEXANDER GRAHAM BELL


รูปที่ 1.1 แสดงหลักการโทรศัพท์ของ Bell
หลักการของโทรศัพท์ที่ Alexander ประดิษฐ์ก็คือ ตัวส่ง(Transmitter) และ ตัวรับ(Receiver) ซึ่งมีโครงสร้างเหมือนลำโพงในปัจจุบัน กล่าวคือ มีแผ่น ไดอะแฟรม (Diaphragm) ติดอยู่กับขดลวด ซึ่งวางอยู่ใกล้ ๆ แม่เหล็กถาวร เมื่อมีเสียงมากระทบแผ่น ไดอะแฟรม ก็จะสั่นทำให้ขดลวดสั่นหรือเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็ก เกิดกระแสขึ้นมาในขดลวด กระแสไฟฟ้านี้ จะวิ่งตามสายไฟถึงตัวรับซึ่งตัวรับก็จะมีโครงสร้างเหมือนกับ ตัวส่ง เมื่อกระแสไฟฟ้ามาถึงก็จะเข้าไปในขดลวด เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่มานี้ เป็น AC มีการเปลี่ยนแปลงขั้วบวกและลบอยู่ตลอดเวลา ก็จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรอบ ๆ ขดลวดของ ตัวรับ สนามแม่เหล็กนี้จะไปผลักหรือดูดกับสนามแม่เหล็กถาวรของตัวรับ แต่เนื่องจากแม่เหล็กถาวรที่ตัวรับนั้นไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ขดลวดและแผ่นไดอะแฟรม จึงเป็นฝ่ายที่ถูกผลักและดูดให้เคลื่อนที่ การที่ไดอะแฟรม เคลื่อนที่ จึงเป็นการตีอากาศตามจังหวะของกระแสไฟฟ้าที่ส่งมา นั่นคือ เกิดเป็นคลื่นเสียงขึ้นมาในอากาศ ทำให้ได้ยิน แต่อย่างไรก็ตาม กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากตัวส่งนี้มี ขนาดเล็กมาก ถ้าหากใช้สายส่งยาวมากจะไม่สามารถได้ยินที่ผู้ส่งได้วิธีการของ ALEXANDER GRAHAM BELL จึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก แต่ก็เป็นเครื่องต้นแบบให้มีการพัฒนาต่อมาในปี พ.ศ.2420 THOMAS ALWA EDISON ได้ประดิษฐ์ ตัวส่งขึ้นมาใหม่ให้สามารถส่งได้ไกลขึ้นกว่าเดิมซึ่ง ตัวส่งที่ Edison ประดิษฐ์ขึ้นมา มีชื่อว่า คาร์บอน ทรานสมิทเตอร์ (Carbon Transmitter)

รูปที่ 1.2 ทรานสมิทเตอร์(Transmitter)
คาร์บอน ทรานสมิทเตอร์(Carbon Transmitter) ให้กระแสไฟฟ้าออกมาแรงมาก เนื่องจากเมื่อมีเสียงมากระทบแผ่นไดอะแฟรม แผ่นไดอะแฟรมจะไปกดผง คาร์บอน(Carbon) ทำให้ค่าความต้านทานของผงคาร์บอนเปลี่ยนแปลงไปตามแรงกด ดังนั้นแรงเคลื่อน ตกคร่อมผงคาร์บอนจะเปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจากแรงเคลื่อน ที่จ่ายให้ คาร์บอน มีค่ามากพอสมควร การเปลี่ยนแปลงแรงเคลื่อน จึงมีมากตามไปด้วย และการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงยอดของ DC ที่จ่ายให้คาร์บอน (ดังรูปที่ 1.3) ซึ่งเราอาจกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ก็คือAC ที่ขี่อยู่บนยอดของ DC นั่นเอ

รูปที่ 1.3 AC ที่อยู่บนยอดของ DC
ดังนั้น เมื่อ DC ไปถึงไหน AC ก็ไปถึงนั่นเช่นกัน แต่ DC มีค่าประมาณ 6-12 Volts (ค่าแรงเคลื่อน เลี้ยงสายโทรศัพท์ขณะยกหู) ซึ่งมากพอที่จะวิ่งไปได้ระยะทาง ประมาณ 5 กิโลเมตร นั่นคือ AC ที่เป็นสัญญาณเสียงก็ไปได้เช่นกัน
หลังจากนี้ก็ได้มีการพัฒนาโทรศัพท์ขึ้นมาใช้งานมากมายหลายระบบ ตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งมีการพัฒนาทั้งระบบชุมสาย (Exchange) และ ตัวเครื่องโทรศัพท์ (Telephone Set) ด้วย ให้สามารถใช้งานได้สะดวกสบาย และมี ประสิทธิภาพมากขึ้น

 

โทรศัพท์มือถือกับการเปลี่ยนแปลงชีวิตวัยรุ่น

โทรศัพท์มือถือกับการเปลี่ยนแปลงชีวิตวัยรุ่น

โทรศัพท์มือถือกับการเปลี่ยนแปลงชีวิตวัยรุ่น



เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การดำเนินชีวิตก็ย่อมเปลี่ยนไปตาม
      โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนี้ นอกจากจะมีคุณสมบัติในการสื่อสารทางเสียงแล้วยังมีความสามารถอื่นอีก  เช่น  สนับสนุนการสื่อสารด้วยข้อความ เช่น SMS ,การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต, การสื่อสารด้วยแบบ Multimedia เช่น MMS, นาฬิกา, นาฬิกาปลุก, นาฬิกาจับเวลา, ปฏิทิน, ตารางนัดหมาย    รวมไปถึงความสามารถในการรองรับแอปพลิเคชันของจาวาเช่น เกมส์ต่างๆได้   และเจ้ามือถือนี่เองก็กลับเป็นที่สิ่งเปลี่ยนแปลงไลน์สไตล์ของชีวิตคนได้   ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมือถือได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่น ในสายตาของวัยรุ่น โทรศัพท์มือถือมิได้มีฐานะเป็นเพียงเครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในการสนทนา ระหว่างกันและกันเท่านั้น แต่โทรศัพท์มือถือกับกลายเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นปัจจัยที่5 ในชีวิตของพวกเขาไปเรียบร้อยแล้ว  มือถือยังเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงลักษณะของตนเอง โดยผ่านการเลือกภาพพักหน้าจอที่แปลกใหม่ การใช้เสียงเรียกเข้า (Ringtone) ที่ทันสมัย และไม่ซ้ำใคร การเลือกเสียงรอสาย (Calling Melody) ที่ตรงกับความชอบ และการเลือกใช้กรอบมือถือที่แสดงบุคลิก และความเป็นตัวตนของพวกเขา   นอกจากนี้โทรศัพท์มือถือในสายตาวัยรุ่นยังเป็นเครื่องมือแสดงสถานะทางสังคม ที่สร้างความภูมิใจ และความโก้เก๋ให้แก่วัยรุ่น การเปลี่ยนโทรศัพท์บ่อยๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่อยากใช้โทรศัพท์ที่ตกรุ่น เพราะกลัวจะไม่ทัดเทียมกับเพื่อนนั้น ฟังดูจะคุ้นชินจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา (ที่ไม่ธรรมดา) ที่วัยรุ่นต้องพยายามเกาะกระแสให้ทัน 


 นอกจากนี้ วัยรุ่นจำนวนไม่น้อยยังใช้เวลาในแต่ละวันสาละวนอยู่กับโทรศัพท์มือถือ มากกว่าที่จะใช้เวลากับพ่อแม่ ญาติพี่น้องเสียด้วยซ้ำ   ทั้งการใช้พูดคุยกับเพื่อน/แฟน เล่นเกม ฟังเพลงถ่ายรูป ฯลฯ สรุปได้ว่า ทุกวันนี้ วัยรุ่นจำนวนมากคิดว่า "โทรศัพท์มือถือคือพระเจ้า" ซึ่งเป็นแทบทุกอย่างสำหรับพวกเขา ทั้งเครื่องมือแก้เหงา เครื่องมือคลายเครียด เครื่องมือเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อน และแฟน ฯลฯ  



วัยรุ่นจึงให้ความสำคัญกับโทรศัพท์มือถือมากจนอาจเกินความจำเป็น  จนเกิดเป็นข่าวต่างๆมากมายมาเกี่ยวกับมือถือ


ค่านิยมของวัยรุ่นในการใช้โทรศัพท์มือถือ

1. วัตถุประสงค์หลักในการใช้โทรศัพท์มือถือ คือ
2. บุคคลที่โทรหาบ่อยที่สุด คือ

3. ค่าใช้จ่ายต่อเดือนเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ คือ

4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นของโทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน คือ

5. ระดับราคาของโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในปัจจุบัน คือ

6. ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ ได้แก่

7. ยี่ห้อของโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ

8. เครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ
จะ เห็นได้ว่ามือถือกับวัยรุ่นนั้นได้กลายเป็นของคู่กันไปแล้วในทุกๆวันนี้เป้ นเพียงแต่มือถือเท่านั้นยังมือเทคโนโลยีต่างๆอีกมากมายที่วัยรุ่นให้ความ สำคัญไม่น้อยกว่ามือถือ  แล้้วยังไงผมจะเอาเทคโนโลยีต่างๆที่วัยรุ่นกำลังนิยมมาอัพเดทให้ฟังนะ คร๊าฟ..................... 

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โรคร้ายที่เกิดจากโทรศัพท์มือถือ

สิ่งที่จะบอกต่อไปนี้
เป็นโรคร้ายซึ่งเกิดจากโทรศัพท์มือถือทั้งนั้น
อาจจะยาวซักหน่อย แต่อยากให้อ่านกันนะ*




นอก เหนือไปจากอวัยวะครบ 32 ประการในร่างกายคนเราแล้ว ปัจจุบันดูเหมือนว่า “โทรศัพท์มือถือ" กำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของคนยุคโลกาภิวัตน์ ที่จะขาดเสียมิได้ เพียงแต่ว่าอวัยวะส่วนนี้ โดยมากจะเริ่มงอกเงยขึ้นมาในช่วงที่เป็น “วัยรุ่น” แต่ก็มีบ้างบางคนที่มี “มือถือ” ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก เพราะพ่อแม่มีวิตามินเอ็ม (Money) ที่จะเสริมให้แต่เยาว์วัย

ข้อดีของโทรศัพท์มือถือ มีอยู่ไม่น้อย อาทิ ทำให้เราสามารถสื่อสารถึงกัน และกันได้ตลอดเวลา และแทบทุกสถานที่ (ที่สัญญาณไปถึง) ทำให้เราตามหาเพื่อนเจอในศูนย์การค้า หรือโทรเรียกช่าง /บริษัทประกันมาได้ทันท่วงที เมื่อรถเสีย รถชนบนทางด่วน หรือในบางสถานที่ที่ไม่มีโทรศัพท์สาธารณะ ฯลฯ อย่างไรก็ดี สิ่งใดมีคุณอนันต์ สิ่งนั้นก็มักมีโทษมหันต์ด้วย หากผู้ใช้ นำไปใช้ในทางที่ผิด หรือใช้ไม่เป็น โทรศัพท์มือถือก็เช่นเดียวกัน

โทษ ของโทรศัพท์มือถือ ได้ก่อให้เกิดโรคใหม่ๆ หลายประการ ดังที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะได้ลองนำเสนอมาให้ท่านผู้อ่านได้อ่านเล่นๆ ดู ดังนี้

- โรคเห่อตามแฟชั่น ในสมัยก่อน การจะมีโทรศัพท์สักเครื่องเป็นเรื่องที่ขอยากขอเย็น กว่าจะขอคู่สายมาติดตั้งที่บ้านได้บางทีต้องรอเป็นปีๆ ดังนั้น ผู้มีโทรศัพท์ใช้แรกๆ จึงมักเป็นพวกที่ทำธุรกิจ หรือพวกมีเงิน มีเส้นสาย ส่วนคนทั่วไปจะใช้หรือจะขอมีโทรศัพท์มักจะต้องมีงาน มีเรื่องจำเป็นหรือเร่งด่วนจริงๆ จนเมื่อมือถือได้กำเนิดขึ้นมาในระยะแรกๆ ผู้ใช้ก็ยังเป็นกลุ่มเดิมๆ อยู่ โดยเฉพาะนักธุรกิจที่จำเป็นต้องติดต่องาน ต่อมาเมื่อธุรกิจมือถือ ได้กลายเป็นแหล่งทำเงิน ให้แก่ผู้ประกอบการอย่างมหาศาล การแข่งขันจึงมีมากขึ้น ก่อให้เกิดการขยายตัว จากผู้ซื้อกลุ่มนักธุรกิจ และผู้มีอันจะกินทั้งหลาย ไปสู่ตลาดคนชั้นกลาง คนวัยทำงาน แม่ค้า ประชาชน และกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้น

และ นี่เองจึงเป็นเหตุให้มีการพัฒนาเทคนิค และออกแบบมือถือเป็นแฟชั่นรุ่นใหม่ๆ มาดึงดูดใจลูกค้าตลอดเวลา และทำให้หลายๆ คนโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ผู้ทำงานด้านเทคโนโลยี เศรษฐี ตลอดจนนักธุรกิจระดับต่างๆ นิยมเปลี่ยนมือถือไปตามแฟชั่นเพื่อให้อินเทรนด์ ดูทันสมัย ไม่ตกรุ่น เทียมหน้าเทียมตาเพื่อนฝูง และบ้างก็เปลี่ยนเพื่อให้ดูเป็นคนมีระดับ มีฐานะ ทั้งที่ฟั่งชั่นหรือประโยชน์ที่เสริมขึ้นมาของแต่ละแบบ บางคนแทบจะไม่ได้ใช้เพิ่มเติม จากเดิมเลยก็ตาม ดังนั้น มือถือจึงได้กลายเป็นเครื่องประดับ ที่บ่งบอกสถานภาพอีกทางหนึ่ง


- โรคทรัพย์จาง
จากการเห่อตามแฟชั่น อย่างที่กล่าวข้างต้น ทำให้หลายคนต้องหาเงินเพิ่ม เพื่อหาซื้อมือถือรุ่นใหม่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งหากมีเงิน หรือหาเงินได้คล่อง ก็ยังไม่เดือดร้อนเท่าไร แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เงินไม่ดี แต่มีรสนิยมดีเกินฐานะ จึงเกิดสภาวะทรัพย์จาง ต้องหาดิ้นรนหาเงินเพิ่ม หรือไปกู้หนี้ยืมสินมาซื้อมือถือ ที่ตัวอยากได้ ซึ่งโรคเห่อตามแฟชั่นส่วนใหญ่มั กจะเกิดกับเด็กวัยรุ่น วัยเรียน

แล้ว มีผลข้างเคียง ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองเกิดโรคทรัพย์จางตามมา เพราะต้องหาเงินไปซื้อหาให้ลูก กลัวลูกน้อยหน้าเพื่อน หรือสงสารลูก หรือทนลูกออดอ้อนวอนขอไม่ได้ นอกจากแฟชั่นรุ่นใหม่ๆ จะทำให้เกิดโรคทรัพย์จางแล้ว ความถี่ของการใช้มือถือ ที่แสนจะสะดวกสบาย ที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ ยังทำให้หลายๆ คน โดยเฉพาะคนเป็นพ่อแม่ มีบัญชีรายจ่ายในเรื่องนี้เดือนๆ หนึ่งจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ยิ่งคนไหนที่กำลังมี หรือกำลังติด “กิ๊ก” จำนวนการใช้ก็ยิ่งมีมากขึ้น แม้จะมีโปรโมชั่นลดแลก แจกแถมต่างๆ มากมายก็ตาม หากไม่รู้จักควบคุมการใช้ให้ดี แนวโน้มที่จะเกิดโรคนี้ก็มีสูงขึ้น


- โรคขาดความอดทน และใจร้อน แม้ว่าข้อดีของโทรศัพท์มือถือ จะทำให้เราสื่อสารได้รวดเร็วทันใจ แต่ข้อนี้ก็เป็นข้อเสียที่ทำให้คนเราขาดความอดทน และใจร้อนขึ้นเช่นกัน เพราะความสะดวกสบาย ในการใช้โทรศัพท์มือถือ ที่ว่าตรงไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ กดปุ๊บ ติดปั๊บนี่เอง ทำให้หลายๆ คนกลายเป็นคนที่ทนรอใครนานไม่ได้ หรือไม่ยอมทนแม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ อีกต่อไป

เช่น นัดเพื่อนไว้ และเพื่อนมาช้าแค่ 5 นาที ก็ต้องโทรตามจิกตามล่าแล้ว คิดอะไรไม่ออก แทนที่จะค่อยๆ ใช้สมองครุ่นคิดทบทวนเอง ก็จะรีบโทรเพื่อน หาคนถามทันที หากไม่ติด ไม่เจอ ก็จะกดโทรอยู่นั่น เพราะต้องการติดต่อให้ได้เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนั้น ทำให้กลายเป็นคนเร่งรีบ ร้อนรน และไม่รอบคอบ เพราะไม่ทันได้ใช้ความคิด หรือขี้เกียจใช้ความคิดอีกต่อไป

- โรคขาดกาลเทศะ และมารยาท
จากการที่เราไม่ค่อยอดทนรอ และใจร้อนที่ว่านี่เอง ทำให้หลายๆ ครั้ง เมื่อนึกอะไรขึ้นมาได้ ก็จะกดโทรศัพท์ไปหาบุคคลที่เราอยากจะพูด อยากถามในทันที ซึ่งบางครั้ง อาจจะเป็นเวลาประชุม เวลานอน เวลารับประทานอาหาร เวลาพักผ่อน หรือเป็นวันหยุด วันที่เขากำลังใช้เวลาอยู่กับครอบครัว การโทรไปเช่นนั้น โดยไม่ดูเวลาหรือกาลเทศะที่ควรโทร แม้เขาจะบอกว่าไปเป็นไร แต่จริงๆ แล้วเขาก็อาจจะไม่พอใจ หรือโกรธที่เราไปขัดจังหวะการกิน การนอน การพักผ่อน ฯลฯ ของเขาอยู่ก็ได้

หรือบางคนไม่รู้จักมัก จี่กับเจ้าของเบอร์ แต่ได้เบอร์โทรมาจากคนอื่น แล้วโทรเข้ามือถือ หรือนำเบอร์มือถือของคนหนึ่ง ไปบอกคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ทราบ หรือไม่อนุญาต ก็เป็นเรื่องไม่ควร ขาดมารยาทที่ดี เพราะบางคนได้เบอร์แล้วโทรไปขายประกัน ขายเครื่องกรองน้ำ เชิญชวนสมัครสมาชิกบัตรเครดิตฯลฯ ทั้งๆ ที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ทำให้ผู้รับสายเกิดความเดือดร้อน รำคาญใจ
และที่ เป็นสภาวการณ์ในปัจจุบันคือ การใช้มือถือโดยไม่เลือกเวลา และสถานที่ เช่น ในห้องประชุม โรงหนัง โรงมหรสพ บนรถ/เรือโดยสาร หรือในระหว่างพิธีการต่างๆ เป็นต้น เสียงโทรศัพท์มือถือมักจะดังขึ้น ทำให้รบกวนสมาธิของผู้อื่น แถมบางคนก็คุยเสียงดัง แบบไม่เกรงใจใคร จนคนร่วมทางต้องรับรู้ประวัติ การนัดหมาย หรือความคับข้องใจของผู้พูดขณะระบายความในใจไปด้วย

บาง คนพูดๆ แล้ว ลืมตัวว่าอยู่ในที่สาธารณะ ก็มักใช้ภาษาไม่สุภาพ หรือพูดๆ แล้วเกิดอารมณ์โกรธ ก็ด่าว่าอีกฝ่ายทางโทรศัพท์ ซึ่งโดยมารยาททางสังคมนั้น ไม่ควรทำอย่างยิ่ง ควรจะปิดมือถือ หรือเปลี่ยนระบบเป็นแบบสั่น เมื่ออยู่ในสถานที่ประชุม โรงหนัง ฯลฯ และไม่ควรพูดคุยด้วยเสียงอันดัง และไม่สุภาพเมื่อมีผู้อื่นอยู่ด้วย

- โรคไม่จริงใจ
เนื่องจากการพูดคุยทางโทรศัพท์ ไม่ต้องเห็นหน้าตา ท่าทาง สายตาและปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ทำให้หลายคน สามารถใช้คำหวานหลอกลวง หรือพูดโกหกผู้อื่น หรือนิยมส่ง sms ไปยังอีกฝ่าย ทำเสมือนรักใคร่ ผูกพันหรือห่วงใย แต่ใจจริงมิได้คิดเช่นนั้น โดยอาจจะโทรไปหาคนหนึ่ง แต่ตัวไปกับอีกคน บางคนอาจจะคิดว่าโทรมา หรือ sms มาดีกว่าไม่มีอะไรเสียเลย แต่แท้จริงแล้ว การไม่จริงใจ และไม่ซื่อสัตย์ต่อกัน อาจกลายเป็นสาเหตุให้เกิดเรื่องอื่นๆ ตามมาได้ เช่น เราอาจคิดว่าเขาดีกับเรา พอเขายืมเงิน ก็ให้ไป แล้วเขาก็ไม่คืน เราก็เกิดความเดือดร้อน เป็นต้น


นอก จากโรคดังกล่าวข้างต้นแล้ว โทรศัพท์มือถือ ยังมีผลข้างเคียงทำให้เสียสุขภาพในด้านอื่นๆ อีก เช่น ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น เพราะมัวแต่คุยทั้งวันทั้งคืน เลยนอนดึก นอนไม่พอ ทำให้หูตึง หรือมีโรคเกี่ยวกับหู เกิดอาการปวดหัว ไมเกรนหรือมีปัญหาทางเส้นประสาท เพราะคลื่นจากมือถือที่มีกำลังส่งแรงสูง ทำให้เกิดพวกโรคจิตเพิ่มขึ้น คือพวกที่ชอบแอบถ่าย หรือบางคนก็ถ่ายภาพหวิว ของตัวเองไปลงตามอินเตอร์เน็ต เพราะทำได้ง่าย และสะดวกสบายขึ้น

หลายๆ ครั้งมือถือทำให้ขาดความระมัดระวัง ขับไปพูดไป จนทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกัน หรือชนคนอื่น นอกจากนี้ มือถือยังก่อให้เกิดอาชญากรรม ถูกคนร้ายติดตามมาทำร้ายร่างกาย หรือแย่งชิงทรัพย์ได้ง่ายอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ คือโรคร่วมสมัยที่มาพร้อมกับโทรศัพท์มือถือ ที่เราควรตระหนักและรู้จักฉลาดใช้ “โทรศัพท์มือถือ” ให้เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อตัวเราทั้งด้านส่วนตัว การเรียน และหน้าที่การงาน ให้สมกับที่เป็นคนยุคใหม่ 

สรุปว่าไม่ต้องใช้เลยจะดีกว่าเนอะ
ยังไงก็ใช้ให้พอดีกับตัวเองน่ะค่ะ


สัญญาณอันตราย(จากโทรศัพท์มือถือ)

ผลงานวิจัยล่าสุดจากชาวสวีเดน ระบุว่าการใช้งานโทรศัพท์ในระยะเวลาที่นานอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดเนื้องอกใน สมองได้มากถึง 240% โดยเฉพาะบริเวณ ที่ศรีษะติดกับโทรศัพท์ ซึ่งขัดแย้งกับผลงานวิจัยอื่นๆ ที่เคยออกมาก่อนหน้านี้

เมื่อปีที่ผ่านมา สภาที่ปรึกษาด้านสุขภาพของชาวเนเธอร์แลนด์ (Dutch Health Council) ได้อธิบายงานวิจัยทั่วโลกโดยสรุป พบว่า ไม่มีหลักฐานใดที่พิสูจน์ได้ว่ารัศมีจากการใช้โทรศัพท์และโทรทัศน์จะเป็น อันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงผลงานวิจัยจากประเทศอังกฤษที่ทุ่มเทเวลาถึง 4 ปีในการศึกษาก็แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะใช้โทรศัพท์นานเท่าใดก็ไม่มีส่วน เกี่ยวข้องกับการโตของเนื้องอกแต่อย่างใด
แต่มาในปีนี้ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสำหรับชีวิตการทำงานแห่งชาติ (Swedish National Institute for Working Life) สังเกตอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวน 2,200 คน เปรียบเทียบกับจำนวนเดียวกันของผู้ที่กำลังควบคุมสุขภาพอยู่
พบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งจำนวน 905 คนที่มีอายุระหว่าง 20 – 80 ปี ได้รับความเสี่ยงจากการเป็นเนื้องอกในสมอง และประมาณหนึ่งในสิบจากจำนวนดังกล่าวเป็นผู้ที่ติดโทรศัพท์อย่างแรง
“มี ผู้ที่เป็นมะเร็งกว่า 85 คนจากจำนวนผู้ที่ถูกทดสอบกว่า 905 คน ที่ติดการใช้โทรศัพท์เป็นอย่างมาก” นักวิจัยกล่าว
งาน วิจัยดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร International Archives of Occupational and Environmental Health เพื่อพุ่งเป้าไปยังผู้ที่ใช้โทรศัพท์มากกว่า 2,000 ชั่วโมงขึ้นไป หรือเทียบเท่ากับการใช้โทรศัพท์วันละ 1 ชั่วโมงนานถึง 10 ปี ให้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพของตน
นับ ว่างานวิจัยครั้งนี้พุ่งประเด็นแตกต่างจากงานวิจัยก่อนๆ ที่ต่างให้ความสำคัญกับผลกระทบของผู้ที่เริ้มใช้โทรศัพท์มือถือก่อนอายุ 20 ปี
งานวิจัยนี้ยังได้แสดงให้เห็นว่า การใช้โทรศัพท์เป็นเวลานานก็จะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอก ที่แฝงตัวอยู่ภายในศรีษะ โดยเฉพาะจุดเดียวกันกับที่วางโทรศัพท์แนบหู และอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ อาทิ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ เป็นต้น
“ผู้ ที่ติดโทรศัพท์มือถืออย่างหนักก็จะยิ่งได้รับผลกระทบมาก และยิ่งมีโอกาสที่จะได้รับความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกระดับอันตรายโดยเฉพาะ ส่วนที่โทรศัพท์ติดกับศรีษะมากถึง 240% ทีเดียว” Kjell Mild หนึ่งในผู้ที่ทำการวิจัย กล่าว
Mild แนะนำทิ้งท้ายไว้ว่า “วิธีที่จะทำให้ความเสี่ยงลดลงก็คือการใช้แฮนด์ฟรีแทนการยกโทรศัพท์คุยแบบ ปกติ”
ไม่ว่าจะมีวิธีแก้หรือลดความเสี่ยงอย่างไร การรู้จัก “ความพอดี” ในการใช้โทรศัพท์มือถือน่าจะเป็นหลักสำคัญในงานวิจัยชิ้นนี้ได้ดีนัก เพราะไม่เพียงแต่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแล้วยังไม่ต้องจ่ายค่าบริการ ที่มากตามไปด้วย คงจะไม่คุ้มนักที่จะต้องเสียเงินจ่ายทั้งค่าบริการโทรศัพท์และค่ารักษา สุขภาพควบคู่กัน เพียงแค่ต้องการคุยโทรศัพท์นานๆ